สรุปผลการบรรยายความรู้ด้านกฎหมายสำหรับชาวต่างชาติโดยทนายความเช็ก

08/08/2562

 

1.        ประเภทวีซ่าเช็ก มีทั้งหมด 4 ประเภทคือ

-          Short term visa (ไม่เกิน 90 วัน)

-          Long term visa (มากกว่า 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี)

-          Long term residence (มากกว่า 90 วัน ไปจนถึง 2 ปี ซึ่งวีซ่าทำงานอยู่ในประเภทนี้ด้วย)

-          Permanant Residence (10 ปี )

 

 

ทั้งนี้ วีซ่าดังกล่าวสามารถขอต่อขยายระยะเวลาหรือเปลี่ยนประเภทในการพำนักอาศัยได้ ในส่วนของวีซ่านักเรียน ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่าทำงานได้ ถ้าต้องการเปลี่ยน จำเป็นต้องกลับไปดำเนินการที่ประเทศไทย  การต่อวีซ่าทำงานจะต้องติดต่อขอยื่นเอกสารในช่วง 120 วัน ก่อนวีซ่าจะหมดอายุ วันที่จะขอยื่นเอกสารวันสุดท้ายคือวันที่วีซ่าหมดอายุ ซึ่งการส่งเอกสารสามารถส่งแค่ตัวแบบฟอร์มพร้อมกรอกรายละเอียดไปก่อนได้ และหากส่งเอกสารไม่ผ่านสามารถส่งใหม่ได้

การขอเปลี่ยนประเภทวีซ่าเป็น Business visa เมื่อประสงค์จะประกอบธุรกิจหรือเปิดกิจการในเช็ก ผู้ร้องจะสามารถดำเนินการได้เมื่ออาศัยอยู่ในเช็กเป็นเวลา 5 ปีขึ้นไป (ใน 5 ปี สามารถออกนอกประเทศสาธารณรัฐเช็กได้ไม่เกิน 210 วัน)    โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.mvcr.cz/foreigners นอกจากนี้ ผู้ที่ทำงานในเช็กจะได้รับบัตรอนุญาตทำงานด้วย บัตรมีอายุสูงสุด 2 ปี  ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ จะต้องแจ้งทางการเช็กทุกครั้ง

โดยที่การติดต่อหน่วยงานเช็กไม่สามารถดำเนินการเป็นภาษาอังกฤษได้ ชาวต่างชาติในเช็ก  ทีต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการขอวีซ่าเช็กหรือต้องการล่ามช่วยแปลภาษาเพื่อดำเนินการเรื่องเอกสาร สามารถติดต่อได้หน่วยงาน NGO โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่

-          ARCIDIECÉZNÍ CHARITA tel. 224 813 418 email: migrace@praha.charita.cz web: http://praha.charita.cz KOMUNITNÍ

-          CENTRUM INBÁZE tel. 739 037 353 email: info@inbaze.cz web: www.inbaze.cz

 

-          CENTRUM PRO INTEGRACI CIZINCU (CIC) tel. 222 360 452 (social service) 702 150 630 (labour advisory) email: info@cicpraha.org web: www.cicpracha.org

 

 

 

2.       การมอบอำนาจแก่บุคคลอื่นๆ และการจ้างทนาย

    -   เอกสารการมอบอำนาจมี 2 ประเภท คือ การมอบอำนาจเพื่อดำเนินการเรื่องเดียว

เท่านั้น อาทิ การมอบอำนาจให้ส่งเอกสารแทนผู้มอบ และการมอบอำนาจเพื่อขอให้ดำเนินการจนเสร็จสิ้น ซึ่งการมอบอำนาจดังกล่าว ผู้มอบอำนาจควรตัดสินใจให้ดีก่อน และควรแน่ใจว่าจะสามารถติดต่อกับผู้รับมอบอำนาจได้ เพราะเอกสารทั้งหมดจากกรมแรงงานฯ หรือสำนักงานต่างๆ จะถูกส่งไปยังผู้รับมอบอำนาจ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องติดต่อกับผู้รับมอบอำนาจบ่อยครั้ง เพื่อที่จะสามารถส่งเอกสารเพิ่มเติมตามที่ทางการเช็กร้องขอได้ มิฉะนั้นอาจมีปัญหาได้

       -  การจ้างทนาย ควรเลือกทนายที่ได้รับการรับรองจากทางการเช็ก เนื่องจาก ในกรณีมีปัญหาหรือข้อขัดข้องจะไม่สามารถร้องเรียนได้

 

 

3.       สัญญาจ้างงาน

-  เอกสารสัญญาจ้างควรเป็นภาษาเช็กและมีภาษาอังกฤษกำกับ ถ้าไม่เข้าใจเนื้อหาสัญญา       ไม่ควรลงนามในเอกสาร

-  ตามกฎหมายของเช็ก อนุญาตให้ทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลาหยุดได้ 20 วัน ไม่นับรวมวันหยุดงานที่หยุดปกติ โดยเป็นการลาที่ได้รับเงินเดือน

-  การลาป่วย ลูกจ้างควรมีใบรับรองจากแพทย์ ซึ่งถ้าลาอยู่ในช่วงไม่เกิน 14 วัน นายจ้างจำเป็นต้องจ่ายค่าจ้าง 60 % ของเงินที่ได้รับตามปกติ  ถ้ามากกว่า 14 วัน ประกันสังคมจะคำนวณเงินและเป็นผู้จ่ายต่อไป 

-  หากมีปัญหานายจ้างเอาเปรียบลูกจ้างสามารถต่อต่อได้ที่สำนักงาน Regionální

inspektorát práce ซึ่งมีอยู่ในทุกเมือง เพื่อให้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ ถ้าอยู่ในปรากให้ติดต่อ Oblastni inspektorat prace  (ที่อยู่สำนักงานหลัก Kladenska 103/105 Prague 6 )

-                            ลูกจ้างมีสิทธิขอลาออกได้ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ซึ่งในกฎหมายล่าสุดนั้น อนุญาตให้วีซ่าทำงานที่ออกตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค. 2562 เป็นต้นไป (สามารถดูได้จากบัตรสีชมพู) สามารถขอลาออกได้หลังจากทำงาน 6 เดือน ส่วนวีซ่าที่ออกก่อนเวลาดังกล่าว มีสิทธิขอออกจากงานเมื่อใดก็ได้ ทั้งนี้ ถ้าลูกจ้างต้องการลาออกจากงาน ลูกจ้างจะต้องแจ้งนายจ้างก่อนล่วงหน้า 2 เดือนพร้อมยื่นใบลาออก

      -  การลาออกจากงานจะสมบูรณ์ได้ต่อเมื่อนายจ้างออกเอกสารสิ้นสุดการจ้างงานให้ลูกจ้าง

       -  การถูกไล่ออกจากงาน จะต้องได้รับคำเตือน 3 ครั้งจากนายจ้าง โดยการเตือนจะต้องเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเก็บเป็นหลักฐานไว้

1.       ข้อถาม-ตอบ

4.1 ลูกจ้างถูกนายจ้างยึดใบรับรองการนวด ต้องทำอย่างไร

                         -  เอกสารใบรับรองต่างๆ ที่ลูกจ้างมอบให้นายจ้างไปยื่นให้เจ้าหน้าที่เช็กเพื่อขอทำ

วีซ่า ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่เช็กจะเป็นผู้เก็บไว้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิไปขอรับคืนได้ และในกรณีที่ลูกจ้างต้องการเปลี่ยนที่ทำงาน ไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับรองเหมือนครั้งแรก เพราะใบรับรองที่ยื่นไปให้เจ้าหน้าที่ในครั้งแรกนั้น จะถูกบันทึกอยู่ในระบบแล้ว เจ้าหน้าที่เช็กสามารถตรวจสอบได้

     4.2 ไม่สามารถขอลาหยุดตามสิทธิ์ได้ จะเรียกร้องอะไรได้บ้าง

 -  ตามกฎหมายของเช็ก ในการทำงานจะสามารถขอลาหยุดได้ 20 วัน ต่อปี

(สามารถตรวจสอบในสัญญาจ้างได้ บางบริษัทอาจสามารถลาได้มากกว่า 20 วัน) หากเกิดปัญหานายจ้างไม่ให้ลาหยุด ลูกจ้างสามารถเรียกเป็นค่าตอบแทนได้ หรืออาจนำวันหยุดที่เหลือไปสมทบในปีถัดไป

4.3   ต้องการลาออก ยื่นใบลาออกเรียบร้อยแล้ว แต่นายจ้างไม่รับ ควรทำอย่างไร

 -  หากนายจ้างไม่ยอมรับใบลาออก ให้ลูกจ้างส่งใบลาออกทางไปรษณีย์ไปให้

นายจ้าง โดยส่งเป็นแบบซองจดหมายพิเศษที่มี Return ticket และควรส่งทางอีเมล์ด้วย เมื่อจดหมายไปถึงนายจ้างให้นับวันที่ 1 เดือนหน้าเป็นวันแรก โดยลูกจ้างต้องทำงานให้ครบ 60 วัน จึงจะสามารถออกจากงานได้

4.4   หากถูกให้ออกกระทันหันจะต้องทำอย่างไร (ในกรณีนายจ้างไม่แจ้งล่วงหน้า 2 เดือน)

-  ลูกจ้างจะต้องสอบถามนายจ้างเกี่ยวเหตุผลที่ไล่ออก ถ้าลูกจ้างกระทำความผิด

และนายจ้างได้ทำการตักเตือนและมีเอกสารเตือนจำนวน 2 ครั้งแล้ว นายจ้างมีสิทธิไล่ลูกจ้างออกได้ในครั้งที่ 3  ถ้านายจ้างไล่ออกโดยไม่มีเหตุผล หรือหากนายจ้างมีความจำเป็นต้องปิดร้าน นายจ้างต้องจ่ายเงินเดือนเป็นจำนวน 1 เดือน สำหรับลูกจ้างที่มีอายุการทำงาน 1 ปี 2 เดือน สำหรับลูกจ้างที่มีอายุการทำงาน 2 ปี และ 3 เดือน สำหรับลูกจ้างที่มีอายุการทำงาน 3 ปี ให้แก่ลูกจ้าง 

 

              4.5  การต่อวีซ่าใช้เวลารอวีซ่านานเท่าไหร่

                              - แล้วแต่การพิจารณาของทางเช็ก บางกรณีอาจรอนานถึง 1 ปี ซึ่งทางผู้ร้องควรตรวจสอบและติดตามคำร้องของตัวเองผ่านทางเว็บไซต์ https://www.mvcr.cz/ และส่งเอกสารต่างๆให้ครบ ในกรณีที่ทางเช็กขอเอกสารเพิ่มเติม

             4.6 ทำงานที่สาธารณรัฐเช็กกี่ปีถึงได้เงินบำนาญ

                   - เงินบำนาญจะได้เมื่อทำงานในสาธารณรัฐเช็กยาวนานถึง 35 ปี

____________________________________________________________________________________


Top